😆 แพลเลทมีมากมายหลายชนิด หลายขนาด หลากหลายการใช้งาน แพลเลทแต่ละชนิดล้วนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักแพลเลทแต่ละชนิดกันก่อนดีกว่า !
1.แพลเลทไม้ ไม้เป็นวัสดุแรกที่นำมาใช้ทำแพลเลท เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย แข็งแรงราคาไม่แพง ใช้เวลาในการผลิตพาเลทรวดเร็ว และสามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่แพลเลทไม้ จะมีปัญหาเรื่องเชื้อราและ แมลง ที่อาศัยอยู่ในไม้รวมทั้งปัญหา เรื่องเสี้ยนไม้ที่ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อสินค้า แพลเลทไม้ที่จะส่งออกต่างประเทศจะต้องผ่านมาตรฐาน ISPM 15 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการ กำจัดเชื้อราและแมลงที่อาศัยอยู่ในไม้ถึงจะสามารถส่งออกได้และ ในบางประเทศ แพลเลท ที่ทำจากไม้ จะต้องระบุถึงแหล่งที่มา ของไม้ที่ใช้ทำแพลเลทด้วยถึงจะสามารถนำเข้าประเทศ นั้นๆได้
2.แพลเลทพลาสติก พลาสติกชนิดที่นำมาใช้ทำแพลเลทส่วนใหญ่จะได้แก่ HDPE, PP, PVC ซึ่งมีราคาแพงกว่าแพลเลทไม้ อยู่ประมาณ 3-6 เท่าต่อ น้ำหนัก 1 ปอนด์ (ของแพลเลทไม้) ข้อได้เปรียบสำคัญของแพลเลทพลาสติก คือ ไม่มีปัญหา เรื่องเชื้อรา และแมลง ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ถือว่าเป็นปัญหา ที่สำคัญมากต่อการ นำเข้าสินค้าแพลเลทพลาสติก เหมาะกับการใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และยาหรือ ใช้ รองรับสินค้าที่ต้องการความสะอาดสูง เพราะแพลเลทพลาสติกสามารถทำ ความสะอาดคราบ? เปรอะเปื้อน ได้ง่ายโดยไม่ฝังอยู่ในเนื้อแพลเลท พลาสติกจำนวนกว่า 50% ของแพลเลท พลาสติกในทวีป เอเชีย มีการนำ กลับมา ใช้้ใหม่อยู่เสมอ
3.แพลเลทกระดาษ แพลเลทกระดาษคิดเป็นจำนวนเพียง 1% ของจำนวนแพลเลทใหม่ ในแต่ละปี ของทวีปอเมริกา กระดาษที่ใช้ทำแพลเลทส่วน ใหญ่ จะเป็นกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น เป็นแผ่นกระดาษลูกฟูก ซึ่งมีกระดาษเรียบ หรือกระดาษผิวกล่อง จำนวน 3 แผ่นคั่นด้วย กระดาษ ลอนลูกฟูก ซึ่งกระดาษประเภทนี้จะให้ความแข็งแรงกว่ากระดาษชนิดอื่นแพลเลท กระดาษเหมาะสำหรับใช้รองรับสินค้า ที่ไม่มีน้ำหนักมาก
และปราศจากความชื้นโดยสิ้นเชิง ข้อเสีย ของแพลเลทกระดาษ คือ เป็นแพลเลท แบบใช้ครั้งเดียว หมายถึง ใช้ส่งสินค้าแค่ขาไปครั้งเดียวเท่านั้น แต่ด้วย ความที่มีน้ำหนัก เบากว่าแพลเลทไม้ และ แพลเลทพลาสติก ทำให้เหมาะต่อการขนส่งทางอากาศ
4.แพลเลทโฟม แพลเลทโฟมผลิตจาก โฟมพลาสติก Polystyrene ซึ่งมีคุณสมบัติที่เบาแต่แข็ง และมีความยืดหยุ่น สามารถกันน้ำ และ ทำความสะอาดแพลเลทโฟมได้ง่าย อีกทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องแมลงและเชื้อราอีกด้วยซึ่งความ แข็งของโฟม PS นั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่ (DENSITY) ของการฉีดขึ้นรูป ด้วยคุณสมบัติพิเศษ ของโฟมดังกล่าวข้างต้นนั้น ทำให้โฟม PS เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำ มาผลิตเป็นแพลเลท เพราะมีความได้เปรียบทั้งเรื่องของ ความสะอาดความยืดหยุ่นที่ไม่ก่อให้เกิดการ เสียหายต่อสินค้าที่บรรทุก และน้ำหนักของตัวแพลเลทเองที่เบากว่าแพลเลทไม้ และแพลเลทพลาสติกถึง 50% ทำให้เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศเพราะผู้ใช้สามารถประหยัดค่าขนส่งได้มาก
แพลเลทโฟม นั้น มีอยู่2 แบบด้วยกันในท้องตลาด คือ
4.1 แพลเลทโฟมล้วน เป็นแพลเลทโฟมที่ฉีดขึ้นรูป โดยแบ่งความแข็งแรงตามความ หนาแน่นของโฟม ที่ฉีด ออกมา เช่น แพลเลทโฟมที่ความหนาแน่น 30กรัมต่อลิตรสามารถรับน้ำหนักได ้1,000 กก.และแพลเลทโฟม ที่ความหนาแน่น 50 กรัมต่อลิตร สามารถรับน้ำหนักได้ที่ 2,000 กก. แพลเลทโฟมชนิดนี้ เหมาะกับการนำมาใช้ เป็นแพลเลทแบบใช้ครั้งเดียว เพราะผิวด้านนอกของตัวแพลเลทมักจะเกิดการ เสียหายจากการใช้งานแล้ว
4.2 แพลเลทโฟมหุ้มผิวพลาสติก คือ แพลเลทโฟมที่เพิ่มความแข็งแรง ให้กับตัวแพลเลทให้มากขึ้น ด้วยการหุ้มแผ่นพลาสติก PS ด้วยวิธีการสุญญากาศ(VACUUM) ที่ผิวด้าน นอกทั้งหมดของตัวแพลเลท เพื่อให้ผิวด้าน นอกของ แพลเลทมีความแข็งแรง สามารถ นำมาใช้เป็นแพลเลทแบบใช้ซ้ำ (Reuse)ได้ แพลเลทโฟมหุ้มผิวพลาสติกยังเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น ได้อีกด้วย