"ส่งออก" ไม่ยากอย่างที่คิด
ทำอย่างไรดีถ้าคิดจะส่งออก? เริ่มต้นผู้ส่งออกควรทำความเข้าใจกฎระเบียบ หลักปฏิบัติและขั้นตอนการส่งออกให้ดี เพื่อให้การส่งออกมีประสิทธิภาพรวดเร็ว มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าในแต่ละประเทศกำหนดไว้ซึ่งการส่งออกมีขั้นตอนที่เกี่ยว ข้อง ดังนี้
8 ขั้นตอนก่อนส่งสินค้าข้ามพรมแดน
1. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
? การหาลูกค้ามี หลายวิธี เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ การใช้สื่อต่างๆ ของหน่วยงานด้านการค้าของไทยหรือการลงโฆษณาตามสื่อต่างๆ ในประเทศของผู้ซื้อ
? เมื่อผู้ซื้อในต่างประเทศสนใจผู้ขายทำการเสนอราคาและรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นหรือที่ผู้ซื้อต้องการทราบ เช่น รูปแบบการขนส่ง การชำระเงินให้แก่ผู้ซื้อ
? เมื่อผู้ซื้อพอใจ ผู้ซื้อจะมีใบคำสั่งซื้อสินค้ามาให้ผู้ขาย
? ผู้ขายทำการออกเอกสาร Pro - Forma Invoice แล้วส่งกลับไปให้ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานว่า ผู้ขายยินยอมขายสินค้าให้กับผู้ซื้อในราคาที่ตกลงกัน
? ผู้ซื้อนำไปเป็นหลักฐานในการเปิด Letter of Credit (L/C) กับธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ
? เมื่อธนาคารของผู้ซื้อรับการสั่งซื้อแล้วธนาคารของผู้ซื้อจะทำการจัดส่ง (L/C) มายังธนาคารในประเทศของผู้ขาย
? ธนาคารในประเทศของผู้ขายแจ้งให้ผู้ขายทราบ เพื่อ ให้ผู้ขายนำหลักฐานตามที่ตกลงใน L/C ไปเตรียมการจัดส่งสินค้าตามข้อ???? ตกลงที่ผู้ซื้อกำหนดมา หากข้อความใน L/C ไม่ชัดเจนผู้ขายควรปรึกษากับธนาคารผู้รับใบสั่งซื้อ L/C ให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไป
2. การเตรียมสินค้า
ถ้า ผู้ขายสินค้าเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง ผู้ขายต้องจัดเตรียมสินค้าให้พร้อมก่อนกำหนดส่งหากผู้ขายไม่ได้ผลิตเอง ผู้ขายต้องทำสัญญากับผู้ผลิตให้ส่งมอบสินค้าตามกำหนดจากนั้นผู้ขายทำการ ทดสอบคุณภาพสินค้าก่อนจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ
3. การติดต่อขนส่ง
การขนส่งสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการส่งออกทางรถไฟ การส่งออกทางรถบรรทุก การส่งออกทางไปรษณีย์ การส่งออกทางเรือ การส่งออกทางอากาศ ผู้ส่งออกต้องตรวจสอบดูว่าวิธีใดที่เหมาะสมจากนั้นผู้ส่งออกต้องจองระวางบรรทุกสินค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกแก่ผู้ทำการขนส่ง
4. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออกต่างๆ
เช่น ใบกำกับสินค้า ใบรายการบรรจุหีบห่อ ใบขออนุญาตสินค้าควบคุมสินค้ามาตรฐานและใบรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรนอก จากนี้ผู้ส่งออกอาจต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O หรือ Certificate of Origin) ตามข้อตกลงของประเทศผู้ซื้อ(ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ หรือ www.dft.moc.go.th ( และเอกสารประกอบอื่นๆ ที่ผู้ซื้อต้องการ เช่น เอกสารประกันภัย เอกสารรับรองต่างๆ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบจาก L/C ที่ได้รับมา สำหรับเอกสารใดที่ผู้ซื้อระบุมา แต่ไม่สามารถหาหน่วยงานใดออกให้ได้
ผู้ ส่งออกต้องตกลงกับผู้ซื้อให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบสินค้า ผู้ส่งออกสามารถขอข้อมูลบริการค้าเอกสารส่งออก ได้ที่ฝ่ายธุรกิจธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.exim.go.th
5. ติดต่อผ่านพิธีศุลกากร
พิธีศุลกากรเป็น ขั้นตอนของการตรวจสอบสินค้าให้ตรงตามเอกสารส่งออกเพื่อทำการประเมินภาษีอากร เมื่อผู้ส่งออกชำระค่าภาษีอากรเรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถส่งมอบสินค้าแก่ผู้ ขายต่อไปรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนพิธีศุลกากร ขอได้ที่ กรมศุลกากร หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.customs.go.th
6. การส่งมอบสินค้า
เมื่อ ผู้ส่งออกส่งมอบสินค้าแก่ผู้ทำการขนส่ง (ซึ่งได้จองระวางไว้ล่วงหน้าแล้ว) ผู้ส่งออกจะได้รับใบตราส่งสินค้า ซึ่งมี 5 ประเภทด้วยกัน ขึ้นอยู่กับพาหนะที่ใช้ขนส่ง ได้แก่
- ใบตราส่งทางเรือ Bill of Lading (B/L)
- ใบตราส่งทางอากาศ Air Waybill (AWS)
- ใบตราส่งทางรถไฟ Railways Receipt
- ใบตราส่งทางรถบรรทุก Truck's Receipt
- ใบตราส่งทางไปรษณีย์ Parcel's Receipt
ผู้ส่งออกต้องตรวจสอบใบตราส่งอย่างละเอียดอย่าให้ผิดพลาดจากข้อกำหนด ก่อนนำไปยื่นขอขึ้นรับเงินกับธนาคาร
7. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
เอกสารที่ต้องใช้ยื่นเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสั่งซื้อ เอกสารที่จำเป็นคือ ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เป็นตราสารที่ผู้รับประโยชน์ตาม L/C หรือผู้ขายสินค้า เป็นผู้ออกตั๋วเงิน เพื่อสั่งให้ผู้ซื้อสินค้าจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินภายในเวลาที่ตกลงไว้ใน สัญญา
สิ่งที่ควรระวังคือ เอกสารที่ส่งให้แก่ผู้ซื้อเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเตรียมตัวออกของ ต้องเป็นเอกสารที่ประทับตรา Copy Not Negotiate เพราะ ผู้ซื้อจะไม่สามารถนำไปออกของได้ จนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระเงินตามตั๋วแลกเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ธนาคารผู้เป็นตัวแทนจึงจะออกเอกสารให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อนำไปออกของต่อไป
8. การขอรับสิทธิประโยชน์
กรมศุลกากรได้จัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยมีมาตรการหลักๆ ดังนี้
? การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกตามมาตรา 19 ทวิ
? การงดเว้นการเก็บอากรสำหรับของที่นำเข้าในคลังสินค้าทัณฑ์บน
? การชดเชยค่าภาษีอากร
? การยกเว้น ภาษีนำเข้าสำหรับเขตอุตสาหกรรมส่งออก
ผู้ส่งออกที่สนใจ สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ กรมศุลกากร
ตรวจสอบกฎเกณฑ์อีกนิดเมื่อคิดส่งออก
เนื่อง จากมีกฎระเบียบทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกผู้ส่ง ออกจึงต้องตรวจสอบกฎระเบียบ สิทธิพิเศษต่างๆ ให้ดีก่อนทำการส่งออก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ส่งออกเอง